ในความเป็นจริงแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการมาทำงานประสานงานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟแวร์ (Software)
3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
5. กะบวนการ การทำงาน (Procedure)
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟแวร์ (Software)
3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
5. กะบวนการ การทำงาน (Procedure)
คอมพิวเตอร์ (computer)
เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วม กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software)
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์(Hardware) เราสามารถแบ่งองค์ประกอบของ ฮาร์ดแวร์(Hardware) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน และแสดงการทำงาน ดังภาพต่อไปนี้
ภาพประกอบฮาร์ดแวร์ |
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
ภาพประกอบซอร์ฟแวร์ |
2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ ( System Software) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสั่งงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น และทำหน้าที่ประสานงานกับซอฟท์แวร์ประยุกต์ทั้งระบบ ตัวอย่างของซอฟท์แวร์ระบบ ได้แก่ Windows, Mac OS, Unix และ Linux เป็นต้น
2.2 ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น พิมพ์เอกสาร นำเสนองาน และคำนวณ หรือเพื่อใช้งานเฉพ าะด้าน ตัวอย่างได้แก่ Microsoft Word, Adobe Photoshop และ Macromedia Dreamweaver เป็นต้น
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล1 จะรับข้อมูลโดยผู้ใชัเป็นผู้ป้อนคำสั่ง แล้ว ส่งไปยัง หน่วยประมวลผล2 ซึ่งทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ หรือประมวลผลข้อมูล โดยทำตาม โปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก3 หน่วยความจำหลักซึ่งเป็นหน่วยความจำที่หน่วยประมวลผลสามารถอ่านเขียนได้รวดเร็วมาก ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักนี้เพื่อให้หน่วยประมวลผลนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหน่วยความจำสำรองมีไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่มีจำนวนมาก และหากจะใช้งานก็มีการถ่ายจากหน่วยความจำสำรองมายังหน่วยความ แล้วนำข้อมูลที่เก็บไว้มาประมวลผล หน่วยส่งออกหน่วยแสดงผล4 เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลมาแสดงผล
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input , Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพต่อไปนี้
การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า ( input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก ( main memory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณ์ส่งออก ( output device) กลับไปสู่ผู้ใชงานคอมพิวเตอร์ต่อไป
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการเก็บข้อมูลไว้ได้เป็นจำนวนมากและสามารถเรียกมาใช้งานได้เมื่อต้องการสามารถนำไปใช้กับงานได้ดังนี้
- งานคำนวณที่สลับซับซ้อนมาก เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์
- งานที่มีปริมาณข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น การคำนวณภาษีเงินได้
- งานที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น การค้นหาประวัติลูกค้า การทำบัญชีรายวัน
- งานที่ต้องการความถูกต้องสูง เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำ
- งานคำนวณที่สลับซับซ้อนมาก เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์
- งานที่มีปริมาณข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น การคำนวณภาษีเงินได้
- งานที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น การค้นหาประวัติลูกค้า การทำบัญชีรายวัน
- งานที่ต้องการความถูกต้องสูง เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำ
สรุป : คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่มนุษย์จะป้อนคำสั่งต่างๆ ปัจจุบันจะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเอง คือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรองการที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์อุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานและควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น